เตยหอม

เตยหอม

หลายคนคงเคยสัมผัสและรู้จักพืชกลิ่นหอมที่ขึ้นง่ายและถูกนำมาใช้แปรรูปได้อย่างหลากหลายมากมาย ในช่วงเวลาที่ต้องเดินทางและเข้าที่พัก ฝ่ายต้อนรับก็มักนำเครื่องดื่มสมุนไพรอย่างน้ำใบเตยมาบริการให้เป็นที่ประทับใจในการเจอะเจอครั้งแรก หรือในงานเลี้ยงที่ต้องการแสดงความเป็นไทยให้เป็นทางเลือกในการลิ้มลองเครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดับกระหาย มีทั้งคุณค่าและความพิเศษด้านกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ทำให้ต้นเตยหอมจากพืชที่เคยปลูกแบบไม่ใส่ใจ กลับได้ประโยชน์จากพืชชนิดนี้ที่ปลูกแบบกำหนดทิศทางสร้างคุณค่าอย่างอเนกอนันต์ เตยหอมพืชที่เน้นใช้ใบ ปลูกง่ายขึ้นได้เกือบทุกสภาวะทั้งกลางแจ้งและร่มรำไร อยู่ได้ในพื้นที่ชื้นแฉะและน้ำขังท่วมโคนลำต้นก็ยังเติบโตได้ดี โดยปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้ยาวนานหลายปี เพียงใช้พื้นที่ว่างจากข้างพื้นที่แปลงผลิตพืชที่มีอยู่ ปลูกแทรกเสริมเข้าไปที่ดูแล้วจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตแม้แต่ชายขอบร่องแหล่งน้ำ เตยหอมก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี แถมยังมีรากที่ออกจากโคนและข้างของลำต้นช่วยยึดเกาะดิน ลดการพังทลายของพื้นที่ที่มีระดับความต่างของพื้นผิวดิน กระทั่งเส้นทางน้ำไหลที่เราไม่อยากให้หน้าดินถูกพัดพาไปกับน้ำ เรียกว่าได้ช่วยรักษาระบบนิเวศจากพืชยึดผิวหน้าดินอีกทางหนึ่งนั่นเอง นอกเหนือจากนั้นส่วนของลำต้น รากและใบ เรายังนำมาใช้ตามภูมิปัญญาที่ให้ทั้งสีและกลิ่นในการทำขนมนานาชนิด ที่เป็นทั้งผลิตภัณฑ์หลักและเสริมองค์ประกอบให้เป็นของพิเศษกว่าสารสังเคราะห์ทั่วไป การให้สีและกลิ่นของเตยหอม ผู้ปลูกต้องรู้จักและเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมและพันธุ์ ที่บางครั้งแม้จะดูทางกายภาพคล้ายกันแต่พันธุ์จะต้องเป็นเตยหอมเฉพาะ จากนั้นต้องปลูกที่ถูกวิธีมีธาตุอาหารที่เหมาะต่อการสร้างกลิ่น (Fragrant screw pine) โดยเน้นการให้สารอินทรีย์ในปริมาณที่สูงพอดีและมีสภาพร่มรำไร เพื่อช่วยให้ใบมีสีเขียวสดมากขึ้นจากการพรางแสงดูแตกต่างจากที่ปลูกกลางแจ้งทีเดียว ซึ่งความหอมเมื่อขยี้ใบเตยจะมีกลิ่นคล้ายคลึงกับดอกชมนาด มะพร้าวน้ำหอม หรือข้าวขาวดอกมะลิ ที่มีสารหอมระเหยชนิดเดียวกันโดยเรียกสารนั้นว่า 2AP(2-Acetyl-1-Pyrroline) ซึ่งล้วนแล้วมีอยู่ในผลิตผลทางการเกษตรจากประเทศไทยที่ดังไกลไปทั่วโลกเลยก็ว่าได้ จากการสัมภาษณ์คุณประนอม ขนุนนิล เกษตรกรผู้ปลูกต้นเตยหอมในพื้นที่หมู่ที่ 9 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เชี่ยวชาญในการปลูกใบเตยหอม และมีประสบการณ์ในการปลูกและดูแลต้นเตยหอมมาเกือบ 10 ปี ได้เปิดเผยว่าใบเตยกำลังเป็นที่ต้องการของท้องตลาด และนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี และได้แนะนำขั้นตอนในการปลูก การคัดแยกหน่อเพื่อขยายพันธุ์ รวมถึงการจัดการในการดูแลรักษาให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้คือ… Continue reading เตยหอม